กฏระเบียบพนักงาน บริษัท LEGEND OF PRODUCT (LOP)
วันที่ทำงาน : จันทร์-เสาร์ / หยุด : อาทิตย์
เงิน1แรง = ฐานเงินเดือน หารด้วยวันทำงาน
- ตำแหน่งที่หยุดทุกวันอาทิตย์ ใน1เดือนจะทำงาน26วัน
- ตำแหน่งที่หยุดทุกวันเสาร์1วัน/เดือน+ทุกวันอาทิตย์4วัน ใน1เดือน=ทำงาน25วัน
- ตำแหน่งที่หยุดทุกวันเสาร์2วัน/เดือน+ทุกวันอาทิตย์4วัน ใน1เดือน=ทำงาน24วัน
- ตำแหน่งที่หยุดทุกวันเสาร์4วัน+ทุกวันอาทิตย์4วัน ใน1เดือน=ทำงาน22วัน
- ตำแหน่งที่ทำงาน3วันต่อสัปดาห์หรือไม่น้อยกว่า12วันต่อเดือน ใน1เดือน=ทำงาน12วัน
ตัวอย่าง : นายAมีฐานเงินเดือน 16,000บาท/เดือน ทำงาน24วันต่อเดือน
- นายA มีค่าแรงต่อวัน เท่ากับ 16,000/24 = 667บาท (1แรง)
- นายA ลาหยุด2วัน และสิทธิ์ลาพักร้อนหมดแล้ว นายAจะถูกหักเงิน2แรง = 1,333บาท
เวลาทำงาน
- จันทร์-ศุกร์ เข้างาน 08.00 / พัก 12.00-13.00น. / เลิกงาน 16.30น.
- เสาร์ เข้างาน 08.00 /.พักเที่ยง 12.00-13.00น. / เลิกงาน 15.30น.
- เช้า เข้างานก่อน 8.00น. เกินเวลาถือว่าสาย
- บ่าย เข้างานก่อน 13.00น. เกินเวลาถือว่าสาย
- เฉพาะฝ่ายผลิต พักเบรคได้เวลา 15.00-15.15น และกลับถึงห้องทำงานไม่เกิน15.20น. ยกเว้นวันเสาร์ไม่มีพักเบรค
- OT เริ่ม 17.30น. หรือแล้วแต่หัวหน้างานกำหนด
กฏการเข้าทำงาน
- ยึดเอานาฬิกาของออฟฟิตเป็นตัวตั้งครับ ไม่ใช่ตามเวลานาฬิกาพนักงาน
- เริ่มงาน 8.00น. พร้อมอยู่ในพื้นที่ทำงาน ถ้าตรวจพบว่าอยู่นอกพื้นที่ทำงานโดยไม่แจ้ง หัก100บาท/ครั้ง ถ้า1วันเกิน4ครั้งถูกหัก1แรง
- พักเวลา 12.00น. ถ้าออกก่อนเวลาถูกหัก 100บาท/ครั้ง
- เข้างาน 13.00น. พร้อมอยู่ในพื้นที่ทำงาน ถ้าตรวจพบว่าอยู่นอกพื้นที่ทำงานโดยไม่แจ้ง หัก100บาท/ครั้ง ถ้า1วันเกิน4ครั้งถูกหัก1แรง
- ออกงาน 16.30น. ถ้าออกก่อนเวลาถูกหัก 100บาท/ครั้ง
การแต่งกายเครื่องแบบพนักงาน
- พนักงานใหม่ต้องมีเสื้อยูนิฟอร์บริษัทอย่างน้อย3ตัว (ซื้อ200฿/ตัว)
- จันทร์-ศุกร์ แต่งกายสุภาพเครื่องแบบบริษัทตามที่กำหนดของแต่ละแผนก
- เสาร์ แต่งกายสุภาพสามารถใส่ชุดอื่นๆได้ แต่ให้เป็นตามข้อกำหนด
ข้อกำหนดการแต่งกาย
- กางเกง : กำหนดให้สวมกางเกงขายาวเต็มตัวหรือ สีดำ น้ำตาล น้ำเงิน ยีนส์ โดยไม่มีลวดลาย ไม่ฉีกขาด ห้ามใส่กางเกงขาสั้นหรือขาสามส่วน
- กระโปรง : กำหนดให้สวมกระโปรงสีพื้นเรียบ ลวดลายไม่มากเกินไป ไม่สั้นเหนือหัวเข่าเกิน 2 นิ้วหรือไม่ยาวเกินไปแบบลากพื้น
- รองเท้า : สวมรองเท้าผ้าใบสีสุภาพ รองเท้าหนัง รองเท้าหุ้มส้น ร้องเท้าส้นสูง ห้ามใส่รองเท้าแตะ อนุญาตให้ ถอดรองเท้าขณะปฏิบัติงานได้
- เครื่องประดับ :
- งดสวมเครื่องประดับราคาแพง หรือแลดูราคาแพง ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน อาทิ ต่างหู แหวน กิ๊บหนีบผม สร้อย เป็นต้น
- งดใช้เครื่องประดับสีฉูดฉาดเกินควร เช่น กิ๊บหนีบผมสีฉูดฉาดหลากหลายสี เป็นต้น
- ทรงผม : สุภาพสตรี ให้รวบผมที่ยาวเกินหัวไหล่มัดให้สุภาพเรียบร้อย ถักเปียได้ หรือบังคับทรงผมให้เรียงเส้นเรียบร้อยสุภาพด้วยเจล โฟม ไม่ชี้ฟู
- ทรงผม : สุภาพบุรุษ ให้จัดทรงผมเรียบร้อยไม่ชี้ฟู ผมไม่ยาวเกินไป บังคับไม่เกิน10ซม. หรือแลดูไม่สุภาพเรียบร้อย , หนวด เครา ควรโกนให้สะอาดเรียบร้อย
- การแต่งหน้า : ให้แต่งหน้าโทนสีอ่อน แบบเป็นธรรมชาติ ไม่เข้มจัด งดใช้สีม่วง ดำ น้ำเงิน หรือสีที่เข้มจัด ในการแต่งหน้างดสีฉูดฉาดเกินไป
- เล็บของพนักงานชาย –หญิง : เล็บควรสั้น ไม่สกปรก ไม่ทาเล็บสีดำ ม่วง น้ำเงิน หรือสีฉูดฉาด งดไว้เล็บยาวเกินงาม เพื่อความสะดวกในการใช้คอมพิวเตอร์
- ให้สวมใส่เสื้อฟอร์มและแต่งกายตามคำแนะนำ หากมีปัญหาไม่สามารถสวมใส่ชุดฟอร์มได้ อนุโลมให้สวมเสื้อสีเทา-ดำ(สีเดียวกับเสื้อบริษัท) มีปกทดแทนได้
- พนักงานทดลองงานให้ใส่สีพื้น ขาว เทา ดำ
การส่งผลตรวจสุขภาพประจำปี
- ส่งผลตรวจสุขภาพ1ครั้งทุกๆ12เดือน
- การไม่ส่งผลตรวจสุขมีผลไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนและไม่ได้รับโบนัส
การลงโทษทางวินัยเมื่อทำผิดกฏระเบียบ
- เตื่อนด้วยวาจา และให้โอกาสชี้แจงเป็นรายครั้งไป แต่ถ้าความผิดนั้นรายแรงบริษัทจะแจ้งเตือนเข้าไปในระบบพนักงาน
- เตื่อนในระบบพนักงาน โดยพนักงานสามารถเห็นได้เมื่อเข้าใช้ระบบพนักงานของบริษัท
- พักงานตามระยะเวลาที่สั่ง ในช่วงที่พักงานพนักงานจะถูกหักตามจำนวนวันที่พักงาน =1แรงต่อวัน
- เลิกจ้าง หรือปลดออก
สิทธิ์การมาสาย ไม่เกิน60ครั้ง/ปี
- เช็คชื่อเข้างานไม่เกินเวลาที่กำหนด ช่วงเช้า 8.00น. / ช่วงบ่าย 13.00น.
- มาสาย ไม่เกิน60ครั้ง/ปี และไม่เกิน15ครั้งต่อเดือน และไม่เกิน30นาทีต่อครั้ง จะไม่ถูกหักเงิน
- มาสาย เกิน30นาที ถูกหักเงินคำนวนจาก = นาทีที่สาย X 0.01%ของเงินเดือน
- มาสาย เกิน60ครั้งต่อปี ครั้งต่อไปจะถูกหัก = นาทีที่สาย X 0.1%ของเงินเดือน
- สายเกิน60ครั้ง=เตือน1ครั้ง
- สายเกิน75ครั้ง=เตือน1ครั้ง
- สายเกิน90ครั้ง=เตือน1ครั้ง
- ตัวอย่างการหักเงิน
- ตัวอย่าง : พนักงานA มีฐานเงินเดือน 15000฿ มาทำงานเวลา 8.29น. มาสายคิดเป็น1ครั้ง แต่ไม่ถูกหักเงิน
- ตัวอย่าง : พนักงานB มีฐานเงินเดือน 15000฿ มาทำงานเวลา 8.32น. มาสายคิดเป็น1ครั้ง และถูกหักเงิน 32*1.5(0.01%)=48บาท
- ตัวอย่าง : พนักงานC มีฐานเงินเดือน 15000฿ มาทำงานเวลา 8.32น. มาสายรวมทั้งหมด61ครั้ง จะถูกหักเงิน 32*15(0.1%)=480บาท
การถูกตักเตือนและการถูกสั่งพักงาน สำคัญ
- เตือนถึง2ครั้ง/ปี มีผลลดเงินเดือน10%
- เตือนถึง3ครั้ง/ปี มีผลลดเงินเดือน20%
- เตือนถึง5ครั้ง/ปี มีผลให้ออกจากงาน พ้นสภาพพนักงาน
- การพักงานจะหักเงินค่าแรงตามจำนวนวันที่โดนพักงาน
ลืมเช็คชื่อเข้า-ออกงาน (สแกนลายนิ้วมือหรือตอกบัตร)
- ไม่เช็คชื่อ1ครั้ง หัก30บาท/ครั้ง และถ้าไม่เช็คชื่อเข้าเช้า-พักเที่ยง-ออกงาน ครบ2ครั้ง ถูกหัก1แรง คิดในเดือนนั้นๆ
- ตัวอย่าง เดือนนี้ไม่เช็คชื่อเข้างาน4ครั้ง=2แรง ถ้ามีฐานเงินเดือนที่15000บาท จะถูกหัก2แรง คือ ประมาณ1000บาท
- ตัวอย่าง เดือนนี้ไม่เช็คชื่อเข้างาน1ครั้งถูกหัก30บาท และเดือนต่อไปไม่เช็คชื่อเข้างานอีก1ครั้งจะถูกหัก30บาท จะไม่ได้เอามารวมกันและไม่ถูกหักเงิน1แรง
- กรณี ไม่เช็คชื่อเข้า-ออกงานสามารถบอกเหตุผลได้ แจ้งใน3วัน *การลืมไม่ใช่เหตุผลที่ใช้ได้*
สิทธิ์การลาครึ่งวัน 10ครั้งต่อปี
- พนักงานทดลองงาน ไม่สามารถลาได้ ถ้าลาจะเป็นหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลา
- ต้องแจ้งหัวหน้างานและลงในระบบทุกครั้ง ไม่งั้นจะถือว่าขาดงาน
- ลาได้ไม่เกินครึ่งวันแบ่งเป็นครึ่งเช้าหรือครึ่งบ่าย และไม่เกิน 10ครั้งต่อปี ถ้าเกิน10ครั้ง การลาครึ่งวันจะถูกหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่เกิน
- ลาครึ่งวันต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย1วัน ยกเว้นเหตุจำเป็นจริงๆถึงลากระทันหันได้
สิทธิ์การลากิจ 4วันต่อปี
- พนักงานทดลองงาน ไม่สามารถลาได้ ถ้าลาจะเป็นหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลา
- การลากิจและลาพักร้อนต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย2วันไม่งั้นจะไม่รับเรื่องลางาน ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยจริงเท่านั้น
- ต้องแจ้งหัวหน้างานและลงในระบบทุกครั้ง ไม่งั้นจะถือว่าขาดงาน
- การลากิจไม่เกิน4วันต่อปี ถ้าเกินกำหนด จะถูกหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลาเกิน
สิทธิ์การลาพักร้อน 6-10วันต่อปี
- พนักงานทดลองงาน ไม่สามารถลาได้ ถ้าลาจะเป็นหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลา
- การลากิจและลาพักร้อนต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย2วันไม่งั้นจะไม่รับเรื่องลางาน ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยจริงเท่านั้น
- ต้องแจ้งหัวหน้างานและลงในระบบทุกครั้ง ไม่งั้นจะถือว่าขาดงาน
- การลาพักร้อนสูงสุด10วันต่อปี ถ้าเกินกำหนด จะถูกหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลาเกิน
- พนักงานที่ยังไม่ผ่านทดลองงานไม่มีสิทธิ์ลาพักร้อน
- พนักงานทำงานไม่ถึง1ปี ลาพักร้อนได้ 3วันครึ่งปีแรกและอีก3วันครึ่งปีหลัง (เข้ามาช่วงไหนจะได้สิทธิ์การลาช่วงนั้น)
- พนักงานที่ทำงาน 1ปีขึ้นไป ลาพักร้อนได้ 6วันต่อปี
- พนักงานที่ทำงาน 2ปีขึ้นไป ลาพักร้อนได้ 7วันต่อปี
- พนักงานที่ทำงาน 3ปีขึ้นไป ลาพักร้อนได้ 8วันต่อปี
- พนักงานที่ทำงาน 4ปีขึ้นไป ลาพักร้อนได้ 10วันต่อปี
- เดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์4วันขึ้นไป ห้ามลาพักร้อน ถ้าลาจะถูกหักค่าแรงตามวันที่หยุดเพิ่ม
- หากใน1ปีไม่ได้ใช้สิทธิ์ลาพักร้อนตามจำนวนที่มี จะคำนวนกลับเป็นเงินค่าแรงรายวันจ่ายให้เดือนสุดท้ายของปี
- พนักงานทดลองงานหรือทำงานไม่ถึง1ปีจะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้
- พนักงานที่ลาป่วย ลาคลอด ลาบวช รวมกันถึง12วันต่อปี จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้
- พนักงานที่มาสายมากกว่า60ครั้งต่อปี จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้
- พนักงานที่ถูกเตือนเกิน 2ครั้งต่อปี จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้
- ตัวอย่าง : นายA มีค่าแรงต่อวัน667฿ มีสิทธิ์ลาพักร้อน8วัน แต่นายA ใช้สิทธิ์ในปีนี้ไปเพียง2วัน จะเหลือสิทธิ์6วัน สิ้นปีนี้นายAจะได้เงินจากสิทธิ์ลาพักร้อนคงเหลือ 4,002บาท (667*6)
สิทธิ์การลาป่วย ไม่เกิน30วันต่อปี
- ต้องแจ้งหัวหน้างานและลงในระบบทุกครั้ง ไม่งั้นจะถือว่าขาดงาน ถูกหัก2แรง
- ลาป่วยทุกครั้งต้องมีใบรับรองแพทย์ไม่มีข้อยกเว้นถึงจะไม่ถูกหักเงิน
- ลาป่วย1วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์หรือต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้างาน
- ลาป่วย2วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลทุกครั้ง
- ลาป่วยไม่มีใบรับรองแพทย์จะหักวันลาพักร้อนแทน >วันลาพักร้อนหมดหักลากิจ >ลากิจหมด หัก1แรง แม้จะแจ้งหัวหน้างานแล้วก็ตาม
- ลาป่วยเกินกำหนด เกิน30วันต่อปี จะถูกหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลา
- ลาโดยไม่ได้ป่วยจริงๆ ถูกหักเงิน3แรงต่อวัน และถูกเตือน1ครั้ง สืบทราบตอนหลังก็โดนหักเพราะถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่
- ลาป่วยทุกครั้งต้องแจ้งหัวหน้างานก่อน 10.00น. ไม่รับลากรณี ปวดมือ ปวดเข่าเล็กๆน้อยๆ
การขาดงานหรือลาโดยไม่แจ้งและไม่ลงบันทึกในระบบ
- ไม่มาทำงาน ขาดงาน โดยไม่แจ้งหัวหน้างานหรือแจ้งแต่ไม่ได้ลงในระบบ ถูกหัก2แรงต่อวัน และถูกเตือน1ครั้ง
- ไม่มาทำงาน ขาดงาน โดยแจ้งมีเหตุสุดวิสัยที่จำเป็นจริงๆ จะหักวันลากิจหรือลาพักร้อนแทน
- ไม่มาทำงาน ขาดงาน โดยแจ้งมีเหตุสุดวิสัยที่จำเป็นจริงๆและวันลากิจ/พักร้อนหมด จะถูกหัก1แรง และไม่ถูกเตือน
- ลงระบบทุกครั้ง ภายในวันสิ้นเดือน ก่อนเวลา 13.00น.ทุกเดือน ถ้าไม่ลงระบบจะถือว่าไม่ได้ลางานอย่างถูกต้อง
การถูกตักเตือนและการถูกสั่งพักงาน สำคัญ
- เตือนถึง2ครั้ง/ปี มีผลลดเงินเดือน10%
- เตือนถึง3ครั้ง/ปี มีผลลดเงินเดือน20%
- เตือนถึง5ครั้ง/ปี มีผลให้ออกจากงาน พ้นสภาพพนักงาน
- การพักงานจะหักเงินค่าแรงตามจำนวนวันที่โดนพักงาน
- พนักงานที่ถูกลดเงินเดือนจะพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนใหม่ภายใน6เดือน
การทำงานล่วงเวลา หรือOTหรือทำงานในวันหยุด
- ทำโอทีทุกครั้ง หัวหน้างานจะแจ้งให้ทราบก่อนอย่างน้อย1ชม. OT เริ่มนับตั้งแต่เวลา 17.30น. หรือตามหัวหน้างานกำหนด
- พนักงานที่ทำOTต้องแจ้งหัวหน้างานก่อนทำทุกครั้ง
- ในกรณีที่ที่ลงชื่อทำโอทีแล้ว ถึงวันเวลาไม่ว่างทำ ถูกหัก1แรง ยกเว้นมีเหตุผลจำเป็นจริงๆ
- การทำโอทีเป็นไปตามกฏระเบียบเพิ่มเติมของฝ่ายต่างๆ
การทำOT ฝ่ายผลิตP1-P2รับผิดชอบร่วมกันทั้งแผนก (75฿/ชม.)
- การทำโอทีหัวหน้างานจะแจ้งให้ทราบก่อนอย่างน้อย1ชม.
- บังคับการทำOT โดยจะกำหนดจำนวนคนทำและจำนวนชม.ก่อนทำเสมอ
- บังคับการทำOT ถ้ามีจำนวนคนทำไม่ครบจะหักเงินทั้งแผนก2%จากฐานเงินเดือน คนที่ทำจะไม่ถูกหัก
- ตัวอย่าง ทั้งแผนกมี10คน วันนี้ต้องการคนทำOT5คน แต่มีคนทำจริงแค่3คน ที่เหลืออีก7คนจะถูกหักเงิน2%
- ตัวอย่าง ทั้งแผนกมี10คน วันนี้ต้องการคนทำOT5คน แต่มีคนทำจริงแค่5คน จะไม่ถูกหักเงิน
- ตัวอย่าง ถ้านายAมีฐานเงินเดือน 12000บาท ไม่ได้ทำOT และจำนวนคนไม่ครบ นายAจะถูกหัก 240บาทในวันนั้น
- ตัวอย่าง ถ้านายBมีฐานเงินเดือน 15000บาท ไม่ได้ทำOT และจำนวนคนไม่ครบ นายBจะถูกหัก 300บาทในวันนั้น
- พนักงานทดลองงานที่ยังไม่ผ่านโปร จะได้โอทีชม.ล่ะ55บาท
กฏการเบิกเงินเดือน
- ต้องแจ้งหัวหน้างานและลงในระบบทุกครั้ง
- ต้องเป็นพนักงานประจำที่บรรจุแล้ว
- เบิกเงินได้ไม่เกิน30%ของฐานเงินเดือน
- ทำงานในเดือนนั้นมาอย่างน้อย15วัน
- เป็นพนักงานที่ไม่เคยถูกเตือนในเดือนนั้น
- บอกเหตุผลของการเบิกทุกครั้ง
การหักค่าเสื้อยูนิฟอร์มบริษัท
- พนักงานประจำจะได้เสื้อยูนิฟอร์มทั้งหมด3ตัว ราคาตัวละ200บาท (สามารถซื้อมากกว่านี้ได้แต่อย่างน้อยต้องมี3ตัว)
- หักจากเงินเดือน ในเดือนแรกของการบรรจุพนักงานประจำ เป็นเวลา2เดือน เดือนละ300บาท
การหักเบี้ยประกันตนเอง จำนวน5%ของเงินเดือน ระยะเวลา5เดือน
- พนักงานทดลองงานจะไม่ถูกเก็บเบี้ยประกันตนเอง
- เบี้ยประกันต้นเองจะเริ่มถูกหักเมื่อถูกบรรจุเป็นพนักงานประจำ คิดจากฐานเงินเดือนปัจจุบัน โดยหัก5% เป็นเวลา5เดือน
- จะได้เบี้ยประกันตนคืนเต็มจำนวนในกรณีที่ลาออกโดยมีการแจ้งลาออกอย่างถูกต้องสมบูรณ์
- จะได้เบี้ยประกันตนคืนภายใน7วัน หลังจากได้รับเงินเดือนก่อนสุดท้าย
- กรณีที่ไม่ได้เบี้ยประกันตนเองคืน
- ลาออกโดยไม่แจ้งตามกำหนด และไม่เขียนใบลาออก
- ถูกปลดออก-ไล่ออกด้วยความผิดต่างๆ หรือสร้างความเสียหายมากกว่าจำนวนเงินประกันตน
การหักเบี้ยประกันสังคม จำนวน5%ของเงินเดือน ทุกเดือน
- บริษัทจะหักเบี้ยประกันสังคมจำนวน5%ของฐานเงินเดือน แต่ไม่เกิน750฿ ตามกฏหมายกำหนด
- บริษัทจะสมทบเบี้ยประกันสังคมให้อีกเท่าหนึ่ง เท่ากับจำนวน5%ในแต่ละเดือนที่พนักงานเสีย
- ถ้าไม่เคยทำประกันสังคม อาจใช้เวลาถึง2-3เดือนหลังจากส่งงวดแรกเพื่อใช้สิทธิ์ได้ *ข้อนี้สนง.ประกันสังคมบอกมา*
- สำหรับพนักงานทดลองงาน บริษัทจะยังไม่ให้เข้าระบบประกันสังคม แต่จะเสียภาษี หัก ณที่จ่าย3%ของฐานเงินเดือน
การลาออก-การปลดออก
- ในเดือนที่ยื่นใบลาออกห้ามลาพักร้อนหรือลากิจ ถ้าลาจะถูกหัก1แรงตามจำนวนวันที่ลา (สามารถป่วยหรือลาครึ่งวันได้)
- การลาออกต้องแจ้งออกอย่างน้อย 30วัน และเขียนใบลาออกไม่เช่นนั้นจะถือว่าการลาออกไม่สมบูรณ์
- การลาออกที่ไม่แจ้งลาออกและไม่เขียนใบลาออกจะถือว่าลาออกไม่สมบูรณ์ และไม่ได้เบี้ยประกันตนคืน
- ในเดือนที่ยื่นใบลาออกต้องเคลียร์งานที่ค้างอยู่ใหม่เสร็จ จึงถือว่าลาออกสมบูรณ์
- ความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นจากการลาออกกระทันหันโดยไม่แจ้ง บริษัทจะฟ้องร้องกับลูกจ้างที่ลาออกกะทันหันและไม่มีใบลาออก
- พนักงานที่ถูกปลดออกถ้ามีความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน จะถูกเรียกค่าเสียหายย้อนหลังโดยเป็นไปตามกฏหมายกำหนด
- ลาออกโดยไม่แจ้ง บริษัทจะแจ้งสนง.กรมแรงงานและประกันสังคมเป็นสถานะปลดออก มีผลให้ใช้สิทธิ์รับเงินคนว่างงานไม่ได้
- การปลดออก กรณีไม่มาทำงานหรือติดต่อไม่ได้และไม่แจ้งเกิน3วัน หรือจงใจทำผิด บกพร่องต่อหน้าที่ หรือทำผิดกฏบริษัทอย่างร้ายแรง โดยพิจารณาจากหัวหน้างาน
การเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย
- ลาออกเอง
- ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม ซึ่งนายจ้างได้ตักเตือน เป็นหนังสือแล้ว (หนังสือมีผลบังคับใช้ไม่เกิน 1 ปี) เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเดือน
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน ติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดพลาด
วันหยุดและสวัสดิการ
- วันหยุดพิเศษ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ บริษัทเป็นผู้กำหนด จะแจ้งให้ทราบในระบบ
- เดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์4วันขึ้นไป ห้ามลากิจ-พักร้อน ถ้าลาจะถูกหักค่าแรงตามวันที่หยุดเพิ่ม
- การจ่ายเงินเดือน จะจ่ายทุกสิ้นเดือน และจะโอนเข้าบัญชีที่เป็นธนาคารกสิกรเท่านั้น
- สามารถซื้อสินค้าของบริษัทได้ในราคาตัวแทนจำหน่ายเรทราคาแรก
สิทธิ์การลาบวช
- ลาได้เฉพาะผู้ชาย ลาได้เพียงครั้งเดียว ครั้งละไม่เกิน10วัน ถ้าเกินกว่านั้น จะหักเงินค่าแรงตามจำนวนวันที่ลาเพิ่ม
สิทธิ์การลาคลอด
- ลาได้เฉพาะผู้หญิง
- ต้องเป็นพนักงานประจำที่บรรจุแล้ว
- สามารถลาคลอดได้90วัน
- ได้รับเงินชดเชย 45วันเมื่อลาคลอด ตามฐานเงินเดือน
- เงินชดเชยจะแบ่งเป็น2เดือน โดยจ่ายให้เดือนถัดไปนับจากเดือนที่ลา
- เดือนแรกได้รับเงินเดือน 30วัน ในวันสิ้นเดือน
- เดือนที่สองได้รับเงินเดือน 15วัน ในวันสิ้นเดือน
หมายเหตุ : ก่อนเข้าทำงานพนักงานต้องแจ้งก่อนว่าตั้งครรภ์หรือไม่โดยมีใบรับรองการตรวจครรภ์ประกอบการสมัคร เพราะถ้าตั้งครรภ์บริษัทจะรับเป็นบางกรณี และถ้าตั้งครรภ์ระหว่างทดลองงานหรือทราบภายหลังจะถือว่าไม่ผ่านทดลองงานโดยอัตโนมัติ
การขึ้นเงินเดือนและโบนัส
- การขึ้นเงินเดือน พิจารณาตามความสามารถไม่ใช่ระยะเวลาที่ทำงาน
- โบนัสรายปี พิจารณาตามผลกำไรของบริษัทในปีนั้นๆ และจำนวนการลาทั้งหมด
- พนักงานที่ไม่ได้รับพิจารณาขึ้นเงินเดือนและไม่ได้รับโบนัส
- พนักงานทดลองงาน และยังทำงานไม่ถึง1ปี
- ลาป่วย-ลาคลอด/ลาบวช รวมกันเกิน12วันต่อปี
- พนักงานที่มาสายมากกว่า50ครั้งต่อปี
- พนักงานที่ทำผิดกฏร้ายแรงหรือถูกเตือนเกิน2ครั้งต่อปี
- พนักงานที่ไม่ส่งผลตรวจสุขภาพประจำปี
กฏระเบียบและค่าปรับในออฟฟิตและโรงงาน (สีแดง=กฏระเบียบร้ายแรง)
- ห้ามพาบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในบริเว็ณผลิตสินค้าโดยเด็ดขาด เว้นแต่ได้รับอนุญาติแล้วเท่านั้น
- ห้ามทำงานพิเศษอื่นๆในเวลางานหรือส่งผลทำให้งานหลักที่ทำอยู่เสียหายหรือได้รับผลกระทบ หรือทำแล้วส่งผลให้งานหลักที่ทำอยู่เกิดความผิดพลาด ไม่เช่นนั้นจะถูกเตื่อนหรือหักเงิน
- ห้ามรับงานนอกหรืองานใดๆก็ตามที่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของตนเองหรืองานที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ มีโทษถูกเตื่อนและหักเงินหรือไล่ออก
- ห้ามนำข้อมูลสำคัญภายในไปแพร่งพายบอกต่อกับบุคคลภายนอก เช่นขั้นตอนการผลิต / สูตรสินค้า / ข้อมูลต่างๆของลูกค้า / ข้อมูลการเงินของบริษัท / ข้อมูลระบบเว็บไซต์ มีโทษไล่ออกและดำเนินคดี
- มีพฤติกรรมการโกงทุจริตต่างๆ มีโทษไล่ออกและดำเนินคดี เช่น
- โกงบิล เขียนตัวเลขใหม่ในบิลเองไม่ใช่ตัวเลขที่มาจากบริษัทเสนอลูกค้าและหักส่วนต่าง
- ออกใบเสนอราคาเองโดยไม่ใช้ของบริษัทหรือใบหลอกลูกค้า
- ออกใบสั่งซื้อโดยเป็นราคาที่เตี้ยมกับSupplier
- นำสารของบริษัทไปขาย หรือแอบเอาสินค้าของบริษัทหรือสูตรเครื่องสำอางไปขาย
- แอบเอาข้อมูลในระบบของบริษัทไปขายและไปรับจ้างทำให้บริษัทอื่นๆ
- พนักงานที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือทำผิดกฏหมายหรือกฏของสังคมที่ส่งผลร้ายกระทบต่อการทำงานและผลกระทบต่อภาพลักษณ์บริษัท
โดยหัวหน้างานจะเป็นผู้พิจารณาตามความเป็นจริง จะถูกโดนลงโทษ ตักเตือน / ลดเงินเดือน / ไล่ออก / ฟ้องร้องคดีความ- ทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือทำผิดกฏหมาย ในสถานที่ต่างๆและถูกถ่ายคลิปลงSocial facebook IG
- ทำผิดกฏหมาย มีคดีความต่างๆที่รา้ยแรงในขณะที่ยังเป็นพนักงาน แม้สืบทราบทีหลังก็จะมีผลลงโทษ
- พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงในการก่ออาชญากรรมหรือ พฤติกรรมรุนแรงต่อสังคม เช่น เสพยา ดื่มเหล่าในออฟฟิต มีเรื่องชกต่อยบ่อยครั้ง เป็นต้น
- พฤติกรรมก้าวร้าวต่อหัวหน้างาน ที่แสดงออกทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งในสื่อOnlineต่างๆและการพูดคุย
- จงใจทำความผิด หรือสมรู้ร่วมคิด หรือช่วยพนักงานคนอื่นๆปกปิดความผิดต่างๆที่เกิดขึ้นจากการทำงาน
- จงใจขัดคำสั่งและไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือตั้งใจทำให้งานที่รับผิดชอบผิดพลาด
- แผนกต่างๆต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของแต่ละแผนกที่ได้ตั้งขึ้นมาอย่างเคร่งคัด
- บทลงโทษและการหักค่าเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดในการทำงาน หัวหน้างานเป็นคนพิจารณา
- การขายสินค้าของบริษัทต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัทกำหนด สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- พนักงานที่ต้องการขายสินค้าของบริษัทจะได้ราคาสินค้าเป็น เรทราคาแรกของตัวแทน
- พนักงานที่ต้องการราคาสินค้าที่ถูกลงกว่าเรทราคาแรกของตัวแทน ต้องสั่งซื้อแบบสต๊อกสินค้าเท่านั้น
หัวข้อ | บทลงโทษ | |
1 | บริเวณชั้น2ที่ใช้กินอาหาร ต้องเก็บขยะทิ้งถังขยะด้านหลังทุกครั้งถ้ามีเศษขยะจะถูกหักเงิน | 50฿/ครั้ง ทุกคนที่ใช้พื้นที่ |
2 | ห้ามเล่นเกมส์ ดูหนัง เล่นไลน์ ดูซีรีย์หรือเล่นกันในบริเวณที่ทำงาน
|
100฿/ครั้งและตัดAll sale |
3 | ห้ามโหลดบิตและโหลดหนังในออฟฟิต
|
50฿/ครั้ง |
4 | ห้ามสูบบุหรี่นอกบริเวณที่กำหนดไว้ให้สูบ
|
50฿/ครั้ง |
5 | ห้ามถ่ายรูปเล่นในโซนผลิต ยกเว้นถ่ายรูปกระบวนการผลิตให้ลูกค้าหรือได้รับอนุญาติแล้วเท่านั้น
|
50฿/ครั้ง |
6 | ห้ามLog Inเข้าใช้ระบบของคนอื่นที่ไม่ใช่ของตัวเอง
|
50฿/ครั้ง |
7 | ห้ามกินอาหารบริเวณชั่น3-4 แต่สามารถนำน้ำเข้าไปกินได้ ยกเว้นบริเวณห้องผสมและห้องบรรจุ
|
100฿/ครั้งและตัดAll sale |
8 | ห้ามใช้โทรศัพท์ในบริเวณผลิตสินค้ายกเว้นหัวหน้างาน
|
50฿/ครั้ง |
9 | ห้ามกินอาหารนอกเวลาพักโดยไม่มีเหตุสมควร
|
50฿/ครั้ง |
10 | ห้ามมีเรื่องเชิงชู้สาวกันในที่ทำงาน จีบกันได้แต่ห้ามผิดจริยธรรม หมายถึงใครมีแฟนมีคู่อยู่แล้วในบริษัทก็ห้ามเข้าไปจีบแฟน ผัว เมีย ของคนอื่น
|
เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก |
11 | ใส่เครื่องแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆผิดระเบียบ
|
50฿/ครั้ง |
12 | ห้ามทำงานพิเศษอื่นๆในเวลาทำงาน
|
50฿/ครั้ง |
13 | การโกงในรูปแบบต่างๆที่ทำให้บริษัทเสียหาย
|
เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก |
14 | ห้ามนำข้อมูลสำคัญไปแพร่งพายบอกต่อกับบุคคลภายนอก เช่นขั้นตอนการผลิตหรือสูตรสินค้า
|
เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก |
15 | ห้ามทะเลาะวิวาทหรือต่อยตีกันในที่ทำงาน
|
เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก |