คำถามที่พบบ่อยในการผลิตเครื่องสำอาง
สิทธิ์การเป็นเจ้าของ อย.เป็นของใคร
- อย.สินค้าทุกตัวที่บริษัทผลิตให้กับลูกค้า สินค้ายังเป็นของบริษัท เพราะผู้ผลิตคือบริษัท แต่”สิทธิ์ในการขาย การจำหน่าย การโฆษณา” จะเป็นของผู้ว่าจ้างผลิตแต่เพียงผู้เดียว ในการทำสินค้าทุกตัวจะมีสัญญาการจ้างผลิต ที่มีข้อกำหนดว่าห้ามบริษัทผลิตสินค้าชื่อนี้ ตัวนี้ให้ลูกค้าท่านอื่นๆ และไม่สามารถขายสินค้าที่มาจ้างเองผลิตได้ เพื่อให้ลูกค้าสบายใจได้ว่า ไม่ว่าลูกค้าจะทำสินค้าดังหรือขายดีขนาดไหน บริษัทผู้ผลิตไม่มีสิทธิ์จะนำสินค้าของลูกค้าไปขายได้ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม เว้นแต่ได้รับการอณุญาตจากลูกค้าก่อนเท่านั้น
กฏการตั้งชื่อเครื่องสำอาง
- ควรตั้งชื่อที่ไม่มีความหมายในภาษาอังกฤษ และสื่อไปในทางความสวยงามที่เป็นเครื่องสำอาง
- ต้องไม่ตั้งชื่อไปในทำนองโอ้อวด ไม่สุภาพ หรือ อาจทำให้เข้าใจผิดจากความจริง
- ต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง
- ต้องไม่ใช้ชื่อที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย หรือส่อไปในทางทำลายคุณค่าทางภาษาไทย
- ยกตัวอย่าง ชื่อที่ไม่ผ่านในการตั้งชื่อเครื่องสำอาง
- Judo (จูโด้) เหตุผล อาจทำให้เข้าใจผิดในการอ่านได้ และจูงใจไปในทางเพศ
- Hair growth (แฮร์ โกล) แปลว่า ทำให้เส้นผมเติบโต ซึ่งเครื่องสำอางไม่เข้าข่ายทำให้เส้นผมงอกได้ เจ้าหน้าที่ว่าแบบนั้น คือไม่ให้มีคำว่า growth นั้นเอง
- Varicose veins (เวรีคอส เวนส์) แปลว่าเส้นเลือดขอด ซึ่งไม่เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอาง จะเข้าข่ายเป็นยาลดเส้นเลือดขอด
- ยาหม่อง ไม่เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอาง เข้าข่ายเป็นยา
- Banana (บานาน่า) เป็นชื่อที่สื่อเป็นอาหารไม่ได้สื่อเปฺ็นเครื่องสำอาง
เกี่ยวกับการชำระเงิน
- ชำระเงินแบ่างเป็น2ครั้งในการชำระเงิน
- งวดที่1 ชำระเงินก่อนผลิตสินค้า 50%
- งวดที่2 ชำระเงินหลังจากสินค้าพร้อมส่งอีก 50% ลูกค้าต้องชำเงินก่อนส่งสินค้า
เกี่ยวกับการขอรหัสผู้ว่าจ้างผลิตเครื่องสำอาง
- ผู้ว่าจ้างผลิตต้องขอทุกคน ถ้าลูกค้าเคยขอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องขอใหม่
ในการยื่นผู้ว่าจ้างผลิตแบบบริษัท(นิติบุคคล) จะมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
1. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท (เซ็นต์และประทับตราทุกหน้า) เอกสารที่ต้องกรอกสำหรับยื่นผู้ว่าจ้างผลิต 1. จดหมายยื่นขอผู้ว่าจ้างผลิต 1 ใบ รูปแบบการกรอกของนิติบุคคล |
ในการยื่นผู้ว่าจ้างผลิตแบบบุคคล จะมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
1. เอกสารสำเนาบัตรประชาชน (เซนต์สำเนาถูกต้อง)
เอกสารที่ต้องกรอกสำหรับยื่นผู้ว่าจ้างผลิต 1. จดหมายยื่นขอผู้ว่าจ้างผลิต 1 ใบ รูปแบบการกรอกของบุคคลธรรมดา |
เกี่ยวกับการขอใบCFSเพื่อส่งออก
- ใบ CFS เป็นเอกสารรับร้องที่ออกโดยโรงงานผู้ผลิต เพื่อรับร้องว่าสินค้าผลิตจากที่ใด
- ใบ CFS เป็นใบรับรองการขาย ที่ออกให้ผู้จ้างผลิตเครื่องสำอางให้ขายได้อย่างถูกกฏหมาย
- การส่งสินค้าไปขาย ต่างประเทศ ต่องขอใบCFS (Certificate of Free Sale) ทุกครั้ง
- การขอใบ CFS ทุกครั้งต้องระบุประเทศที่ขอด้วยทุกครั้ง และถ้าต้องการขายประเทศอื่นๆที่ไม่มีรายละเอียดอยู่ในใบCFS ต้องดำเนินการขอใบใหม่
- ใบ CFS มีอายุ1ปีหลังจากที่ขอ เมื่อหมดอายุต้องดำเนินเรื่องขอใหม่
- ใบ CFS ไม่เกี่ยวขอกับการรับรองความปลอดภัยของสินค้า เป็นเพียงใบรับรองการขายเพื่อใช้เวลาส่งออก
- ระยะเวลาในการขอใบ CFS 7-10วัน ในกรณีที่เอกสารครบถ้วน
เกี่ยวกับการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
- ในการส่งออกหรือขายสินค้าในต่างประเทศ ต้องขอใบCFSก่อนทุกครั้ง
- ในการส่งออก บริษัทจะจัดการเตรียมเอกสารที่ใช้ในการส่งออกให้ลูกค้า เช่น ใบCFS CoA MSDS Information ของสินค้า หรือตามแต่ละประเทศจะขอ แต่เรื่องการส่งออกลูกค้าต้องเป็นคนดำเนินการเองทั้งหมด
- การส่งออก ลูกค้าจะเป็นคนดำเนินเรื่องเองทั้งหมด ทั้งการติดต่อบริษัทขนส่ง การทำใบ Invoidราคาสินค้า และเอกสารอื่นๆ
เกี่ยวกับการขอโฆษณาเกินจริง
- ในการโฆษณาสินค้าทุกช่องทาง ของลูกค้าที่จ้างผลิต ผู้จ้างผลิตต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเอง จากการโฆษณาที่ออกไป เช่นค่าปรับจาก อย.ในกรณีโฆษณาเกินจริง
เกี่ยวกับการพัฒนาสูตรและการแกะสูตร
- ในการจ้างพัฒนาสูตรและการแกะสูตร สูตรนั้นๆจะเป็นของลูกค้าแต่เพียงผู้เดียว บริษัทจะไม่นำสูตรที่พัฒนาหรือแกะสูตรไปขายให้กับลูกค้าท่านอื่นๆ
- กรณีที่สูตรมีความคล้ายกัน แต่จะต่างกันในเรื่องสารที่ใส่ลงไป หรือสีหรือกลิ่น จะถือว่าเป็นสูตรใหม่โดยอัตโนมัติ
- สูตรที่ลูกค้าจ้างแกะหรือพัฒนาสูตรขึ้นมา บริษัทจะบอกสารทุกตัวที่อยู่ในสูตรแก้ลูกค้า แต่จะไม่บอก%ของสารแต่ละตัวที่ใส่ลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าไปผลิตที่อื่น
- สูตรที่ลูกค้าจ้างพัฒนาหรือแกะสูตรถ้าลูกค้าต้องการซื้อสูตรนั้น โดยมี%และและสารทุกตัวในสูตรบอกเพื่อนำไปผลิตเองและขั้นตอนวิธีการผลิต จะคิดราคาต่อสูตรที่50,000-100,000บาท ต่อสูตร
เกี่ยวกับสิทธิ์ในสินค้าที่ลูกค้าจ้างผลิต
- สินค้าใดที่ลูกค้าจ้างผลิตขึ้นมา จะเป็นสูตรที่แกะหรือเป็นสูตรของบริษัท จะถือว่าเป็นของบริษัทผู้ผลิต แต่ไม่สามารถขายหรือให้ผู้อื่นขายได้ ตามสัญญาการผลิต
- สินค้าใดที่ลูกค้าจ้างผลิตขึ้นมา จะเป็นสูตรที่แกะหรือเป็นสูตรของบริษัท ผู้ว่าจ้างผลิตมีสิทธิ์ขาย จำหน่าย ทำการตลาดและโฆษณาได้เพียงผู้เดียวเท่านั้น
เกี่ยวกับสัญญาการผลิตสินค้า
- การทำสัญญาจะทำเป็นรายครั้งในการผลิตแต่ละครั้งแจ่มีการ เซ็นต์สัญญาผลิตในแต่ละLOT
- ทำสัญญาได้ก็ต่อเมื่อลูกค้าว่างมัดจำแล้วเท่านั้น